ในปัจจุบันรูปแบบของการประเมินหลักสูตรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.รูปแบบของการประเมินหลักสูตรที่สร้างเสร็จใหม่ๆ เป็นการประเมินผลก่อนการนำหลักสูตรไปใช้ รูปแบบที่เด่นของกลุ่มนี้ คือ รูปแบบการประเมินหลักสูตรของปุยแชงค์ (Puissance Analysis Technique)
2.รูปแบบของการประเมินหลักสูตรในระหว่างหรือหลักการใช้หลักสูตร สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้ 4 กลุ่ม
2.1 รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดหลักสูตรเป็นหลัก (Goal Attainment) เป็นรูปแบบที่ประเมินว่าหลักสูตรมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด พิจารณาว่าผลที่ได้รับเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ เช่น รูปแบบการประเมินหลักสูตรของไทเลอร์ (Ralph W. Tyler) และ ของแฮมเมอร์ (Rabert L. Hammond)
2.2
รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ไม่ยึดเป้าหมาย (Goal Free Evaluation Model)
เป็นรูปแบบการประเมินที่ยึดตามสภาพจริง มีความเป็นอิสระในการประเมิน
เช่น รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสคริฟเวน (Michael Scriven)
2.3 รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก (Criterion Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินคุณค่าของหลักสูตรโดยใช้เกณฑ์เป็นหลัก เช่น รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค (Robert E. Stake)
2.4 รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ช่วยในการตัดสินใจ (Decision-Making Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่เน้นการทำงานอย่างมีระบบทั้งการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นๆ เช่น รูปแบบการประเมินหลักสูตรของโพรวัส (Malcolm Provus) สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) และดอริสโกว์ (Doris T. Gow)
2.3 รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก (Criterion Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินคุณค่าของหลักสูตรโดยใช้เกณฑ์เป็นหลัก เช่น รูปแบบการประเมินหลักสูตรของสเตค (Robert E. Stake)
2.4 รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ช่วยในการตัดสินใจ (Decision-Making Model) เป็นรูปแบบการประเมินที่เน้นการทำงานอย่างมีระบบทั้งการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นๆ เช่น รูปแบบการประเมินหลักสูตรของโพรวัส (Malcolm Provus) สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) และดอริสโกว์ (Doris T. Gow)
No comments:
Post a Comment